In Focus
In content
สโตนวอลล์อินน์ จากบาร์เล็ก ๆ สู่การลุกฮือเพื่อสิทธิความเท่าเทียมทางเพศ
‘เควียร์’ ในงานพิพิธภัณฑ์ (queering the museum) ที่อย่าดูเบา
หมายเหตุ ภาพปกคือข้อความบนกระจกบานหน้าร้านสโตนวอลล์อินน์ในช่วงเวลาที่เกิดการจลาจล ค.ศ. 1969
ที่กลุ่มรักร่วมเพศในเวลานั้นต้องการสื่อสารถึงความเสมอภาคในการอยู่ร่วมกันในสังคม
ในหลายสิบปีนี้ การรณรงค์เพื่อการอยู่ร่วมกันกับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศและรสนิยม (queer inclusion) เป็นความเคลื่อนไหวของกลุ่ม LGBTQIA+ ขบวนการเหล่านั้นปรากฏในหลายลักษณะ เช่น การเรียกร้องเพื่อสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในรูปแบบของการผลักดันการแก้ไขหรือตรากฎหมายต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับเพศสภาพของกลุ่มคนหลากหลายในสังคม กิจกรรมสาธารณะเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในอัตลักษณ์บุคคลของ LGBTQIA+
ขบวนการดังกล่าวอยู่ในกระแสการเรียกร้องความเท่าเทียมของคนทุกกลุ่มในหลายเมืองทั่วโลก
Pride Month ในเดือนมิถุนายนจึงเกิดขึ้นเพื่อการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ โดยมุ่งหวังให้ผู้คนได้ทำความรู้จักและเปิดรับกับเพศที่ไร้กรอบและความรักที่ไร้เกณฑ์มากยิ่งขึ้น ทว่าเหตุใด Pride Month จึงได้รับการกำหนดไว้ในเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์ในฐานะสถาบันสังคมสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์อย่างไร คำถามทั้งสองประการนี้นำมาสู่บทความที่คุณกำลังอ่าน และนำเสนอในรูปแบบข้อเขียนสังเขป (brief review)
งานเขียนนี้มุ่งหวังให้ผู้อ่านโดยเฉพาะคนทำพิพิธภัณฑ์ตระหนักถึงบทบาทของตนในการออกแบบงานและสะท้อนบทบาทพิพิธภัณฑ์ในการขับเคลื่อนสิทธิและความเสมอภาค รวมถึงมรดกวัฒนธรรมเควียร์ในสังคม
สโตนวอลล์อินน์: บาร์เล็ก ๆ ที่กลายเป็นอนุสรณ์สถานของชาติ
ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา สโตนวอลล์อินน์ (Stonewall Inn) คือสถานที่นัดหมายของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในทศวรรษ 1960 ช่วงเวลานั้นสังคมยังมองความแตกต่างทางเพศเป็นสิ่งแปลกแยก คนในละแวกนั้นจึง
ต่อต้านและตำรวจพาลหาเรื่องอยู่บ่อยครั้ง แม้ว่ากลุ่มคนเหล่านั้นไม่ได้กระทำความผิดกฎหมายแต่อย่างใด
การตอบโต้กันระหว่างเจ้าหน้าที่กับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่สะสมเป็นเวลานานมาถึงขีดสุดในคืนวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1969 ตำรวจเข้าล้อมบาร์และปราบปรามกลุ่มคนในสโตนวอลล์อินน์โดยอ้างกฎหมายศีลธรรม ก่อให้เกิดการปะทะจนกลายเป็นการจลาจล มีผู้บาดเจ็บและถูกจับกุมเป็นจำนวนมาก จนลุกลามไปสู่การประท้วงและการเดินขบวนเรียกร้องสิทธิความหลากหลายทางเพศครั้งแรกในปีต่อมา
ภาพ 1 สภาพของสโตนวอลล์หลังการเกิดเหตุจลาจล ค.ศ. 1969
ได้ทิ้งร่องรอยความรุนแรงจากความเกลียดชัง
(ภาพจาก https://cdn.cnn.com/cnn/interactive/2019/06/us/stonewall-pride-fred-mcdarrah-cnnphotos/media/04.jpg)
การเดินขบวนยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารสาธารณะในการเรียกร้องให้สังคมเห็นถึงการดำรงอยู่ของ
ชาวเควียร์ รวมถึงวาระของการต่อสู้เพื่อลดอคติทางเพศ ดังปรากฏในกิจกรรมเมื่อ ค.ศ. 1987 การสร้างผลงาน
ผ้าปะติด (Quilt) ของกลุ่มผู้เดินขวาน เพื่อรำลึกถึงการสูญเสียจากโรคเอดส์ (AIDA memorial quilt) เป็นผ้าผืนใหญ่จากการเย็บต่อกันของชิ้นผ้าสีสันฉุดฉาด จำนวน 1,920 ผืน และจัดแสดงหน้าสนามเนชั่นนัลมอลล์ ผลงานนั้นเปรียบเหมือนสีสันในประสบการณ์ของกลุ่มเกย์ เคล้าความหม่นเศร้าจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
เหตุการณ์ต่าง ๆ นี้กลายเป็นสัญลักษณ์ในการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา กระนั้นอาชญากรรมจากความเกลียดชัง (hate crime) ต่อ LGBTQIA+ โดยตลอด เมื่อ ค.ศ. 1990 ณ หัวมุมถนน 78 ตัดกับ 37 ในเขตแจ๊คสันไฮตส์ เป็นสถานที่ที่เกิดเหตุการล่อลวงบาร์เทนเดอร์เกย์หนุ่มวัย 29 ปี ไปยังสนามในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง
ณ ที่นั้นชายสามคนได้ปลิดชีวิตเขาด้วยแรงจูงใจใน “การล้างบาง” เกย์และคนไร้บ้านออกจากย่าน เขาเสียชีวิตด้วยบาดแผลบนศีรษะที่ถูกทุบด้วยค้อนอย่างรุนแรง และบาดแผลจากมีดอีกหลายจุดบนร่างกาย บรรดาญาติและเพื่อนผู้ใกล้ชิดเขาเริ่มต้นการเรียกร้องความปลอดภัยให้กับเลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล และกลุ่มคนข้ามเพศ และกดดันการทำงานของตำรวจ ในที่สุด ตำรวจสามารถจับกุมอาญชากรทั้งสามคน สองในสามถูกตัดสินจำคุกและอีกหนึ่งคนเสียชีวิตในระหว่างการหลบหนีการประกันตัวในเม็กซิโก
ภาพ 2 ผ้าปะติดผืนใหญ่จากการรำลึกถึงการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักของผู้จากไปด้วยโรคเอดส์ ณ เนชั่นนัลมอลล์ ค.ศ. 1987 นับเป็นการแสดงออกสาธารณะครั้งแรก เพื่อให้สังคมเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของกลุ่มเควียร์อย่างเท่าเทียม
(ภาพจาก https://news.harvard.edu/wp-content/uploads/2019/06/Aids_Quilt_2500.jpg?resize=2048,1366)
จากเหตุการณ์ดังกล่าวมีป้ายที่เป็นเครื่องเตือนใจว่า “Julio Rivera Corner” เพื่อตอกย้ำถึงอาชญากรรมจากความเกลียดชังที่ไม่ควรเกิดขึ้นในสังคม เดเนียล ดรอมม์ สมาชิกสภาเขต ผลักดันหลักสูตรท้องถิ่น “Children of the Rainbow” สำหรับสถานศึกษารัฐบาลในเขตที่ตนรับผิดชอบ โดยมีวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ความอดทนอดกลั้นในหมู่เด็กและเยาวชน
ก่อนเข้าสู่ศตวรรษใหม่ บิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในเวลานั้นประกาศให้เดือนมิถุนายนเป็น “Gay and Lesbian Pride Month” เมื่อ ค.ศ. 1999 และมุ่งหวังให้ชาวอเมริกันเห็นคุณค่าของ LGBTQIA+ ที่มีต่อประเทศชาติเฉกเช่นอเมริกันชนทุกกลุ่ม ความในตอนหนึ่งของแถลงการณ์ระบุว่า “ความอดทนอดกลั้นนั้นไม่อาจเกิดขึ้นจากการบัญญัติหรือบังคับใช้กฎหมาย แต่เราทุกคนต้องเปลี่ยนมุมมองและสำนึกถึงความแตกต่างของผู้คนในสังคม”
เหตุการณ์สำคัญที่ควรได้รับการกล่าวถึงในขบวนการสิทธิ LGBTQIA+ คือ สโตนวอลล์อินน์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานสิทธิความหลากหลายทางเพศ โดยมีเจอร์โรลด์ แนดเลอร์ ส.ส.พรรคเดโมแครต รัฐนิวยอร์กเขต 10 เสนอร่างกฎหมายจัดตั้งอนุสรณ์สถาน เมื่อ ค.ศ. 2015 ร่างกฎหมายนั้นเกิดขึ้นจากการประชาพิจารณ์อย่างต่อเนื่องหลายปีก่อนหน้านั้น ในที่สุด ค.ศ. 2016 อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามาออกคำสั่งฝ่ายบริหาร (Executive Order) เพื่อสถาปนาให้สโตนวอลล์อินน์และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นสถานที่แห่งการรำลึกเหตุการณ์ความรุนแรง และแหล่งเรียนรู้ในการส่งเสริมค่านิยมประชาธิปไตยในสังคม
นิทรรศการในฐานะภาพแทน LGBTQIA+ จุดเริ่มต้นการสื่อสารสาธารณะ
ความเคลื่อนไหวเพื่อการส่งเสริม LGBTQIA+ ในงานพิพิธภัณฑ์ของสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นจากการพัฒนานิทรรศการเพื่อสื่อสารถึงอัตลักษณ์และการต่อสู้ของความเป็นเพศที่หลากหลาย นิทรรศการที่เป็นภาพแทน
ของเควียร์นั้น สามารถสร้างการยอมรับความหลากหลายทางสังคมให้กับผู้ชมที่มีเพศสภาพสอดคล้องกับเพศกำเนิด (cisgender visitors)
นิทรรศการชุดแรกที่ได้รับความนิยมในประวัติศาสตร์เควียร์ คือ Becoming Visible: The Legacy of Stonewall ค.ศ. 1994 ซึ่งมีมิม โบว์ลิง มอลลี่ แม็กแกรรี่ และเฟรด วอซเซอร์แมน เป็นภัณฑารักษ์ นิทรรศการชุดนี้จัดแสดงในหอสมุดสาธารณะ นิวยอร์ก เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์จลาจลสโตนวอลล์ นับเป็นบทปฐมฤกษ์ของการกล่าวถึง
ประวัติศาสตร์เควียร์ในพื้นที่สาธารณะ และมีประชาชนหลั่งไหลเข้ามาชมนับแสนคน จนนำมาสู่การตีพิมพ์หนังสือนิทรรศการ เพื่อเผยแพร่ภาพถ่ายจากเหตุการณ์ ค.ศ. 1969
นิทรรศการอีกชุดหนึ่งคือเรื่อง Lavender Line: Coming Out in Queens จัดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 2017 ในการฉลอง
งานไพรด์ครบ 25 ปี ณ พิพิธภัณฑ์ควีนส์ ในนครนิวยอร์ก ที่บอกเล่าถึงเหตุการณ์จากอาชญากรรมความเกลียดชังที่เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1990 และได้สร้างแรงกระเพื่อมให้กลุ่ม LGBTQIA+ร่วมต่อสู้ให้ผู้บังคับใช้กฎหมายไม่เพิกเฉยต่ออาชญากรรมและความรุนแรงที่เกิดขึ้น และพัฒนาต่อเนื่องมาเป็นงานไพรด์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1993
เนื้อหานิทรรศการกล่าวถึงวิวัฒนาการของการเดินรณรงค์ที่เรียกว่า Pride Parade จากเหตุการณ์ในระดับชุมชนที่มีผู้ร่วมขบวนและผู้ชมในหลักพัน และค่อย ๆ ขยายเป็นเทศกาลที่มีผู้เข้าร่วมหลายหมื่นคน รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองและเอกชนอีกจำนวนหนึ่ง ในปัจจุบันผู้เข้าร่วมขบวนยังมีกลุ่มคนเชื้อชาติต่าง ๆ ขบวนพาเหรดกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ฉายภาพความหลากหลายของผู้คนในเขตควีนส์
ภาพ 3 สโตนวอลล์อินน์และบริเวณโดยรอบได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ของชาติ
(ภาพจาก จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Stonewall_riots#/media/File:Stonewall_Inn_5_pride_weekend_2016.jpg)
Trans Hirstory in 99 Objects เป็นชุดนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยที่จัดขึ้นในพิพิธภัณฑ์หลายแห่งระหว่าง ค.ศ. 2015 กับ ค.ศ. 2019 หอศิลป์เฮนรี่ เมืองซีแอตเทิล นิวมิเซียม นครนิวยอร์ก พิพิธภัณฑ์โอคแลนด์ เมืองแคลิฟอร์เนีย และพิพิธภัณฑ์ศิลปะ เมืองพอร์ตแลนด์ นิทรรศการนำเสนอศิลปะทรานส์ (trans art) ในการต่อสู้กับอคติทางสังคม
ผลงานศิลปกรรมทั้งภาพวาด งานเขียน และบทกวี บอกเล่าถึงประวัติศาสตร์ที่ถูกลบเลือนของกลุ่มคนข้ามเพศและเพศที่ไม่สอดคล้องกับบรรทัดฐานสังคม และชวนผู้ชมมองภาพในวันข้างหน้า
ตัวอย่างชุดนิทรรศการทั้งสามเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการกำหนดตำแหน่งแห่งที่ของกลุ่มเพศหลากหลายในกระแสประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ในหลายศตวรรษที่แล้ว เรื่องราวและอัตลักษณ์ของ LGBTQIA+ ไม่เคยได้รับการกล่าวถึง ไม่ใช่เฉพาะในสหรัฐอเมริกา แต่ในอีกหลายประเทศทั่วโลก ในวันนี้ เรื่องราวของเควียร์ปรากฏให้เห็นมากขึ้นในพิพิธภัณฑ์หลายแห่ง แต่ภาพแทนเหล่านั้นจะสามารถสร้างการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างแท้จริงหรือไม่ พิพิธภัณฑ์จะเป็นสถาบันตัวอย่างที่สามารถสร้างการอยู่ร่วมกันระหว่างเพศที่แตกต่างได้อย่างไร
ภาพ 4 ปกหนังสือประจำนิทรรศการ ซึ่งในเวลาต่อมีการจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือโดยเพิ่มเติมภาพถ่ายประวัติศาสตร์ขบวนการเคลื่อนไหวการรณรงค์เพื่อสิทธิกลุ่ม LGBTQIA+
(ภาพจาก https://media.villagepreservation.org/wp-content/uploads/2018/06/15090904/Becoming-Visible-600x800.jpg)
‘เควียร์’ ในงานพิพิธภัณฑ์ (queering the museum) ที่อย่าดูเบา
มาการ์เรต มิดเดลตัน นักออกแบบนิทรรศการและนักรณรงค์สิทธิความเท่าเทียมของกลุ่ม LGBTQIA+ ชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่เรียกว่า การเควียร์พิพิธภัณฑ์ โดยหยิบยืมข้อคิดของศาสตราจารย์ริชาร์ด แซนเดลล์ ผู้ศึกษาความเท่าเทียมและความยุติธรรมทางสังคมในงานพิพิธภัณฑ์ โดยระบุว่า “การตัดสินใจต่าง ๆ ในชีวิตการทำงานพิพิธภัณฑ์สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้เช่นกัน”
ภาพ 5 การเดินขบวนต่อต้านความรุนแรงกับกลุ่มเควียร์ในแจ๊คสันไฮต์ ทศวรรษ 1990
เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการที่จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ควีนส์ เรื่อง Lavender Line
(ภาพจาก https://queensmuseum.org/wp-content/uploads/2017/04/IMG_14341-e1495219141724.jpeg)
มิดเดลตันเสนอสิ่งที่ควรดำเนินการในลักษณะต่าง ๆ ได้แก่
ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติงานในพิพิธภัณฑ์และองค์กรต่างมีบทบาทในการดำเนินงานด้วยความต่อเนื่องและยั่งยืน
เพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันกับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศและรสนิยมให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง.
ภาพ 6 Vargas: Consciousness Razing—The Stonewall Re-Memorialization Project,” (2018)
ผลงานศิลปกรรมและมุมจัดแสดงในนิทรรศการ Trans History in 99 Objects
(ภาพจาก https://images.squarespace-cdn.com/content/v1/5db87e3339b8ac5c0efa5e19/1577044308745-VZYNNG0TPZR67D1DZU2V/5TH+FLOOR_VIEW+8.jpg?format=300w)
ชิษณุพงศ์ นิธิวนา และวรรณภา ลีระศิริ. 2560. “การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้มีความหลากหลายทางเพศในสหรัฐอเมริกาสมัยประธานาธิบดีบารัค โอบามา (ค.ศ. 2009-2017).” วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ 8 (1): 1–32.
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย. (2564). “เรียนประวัติศาสตร์ LGBTQ+ แบบสนุกและล้ำผ่าน AR กับ Stonewall Forever.” จาก https://www.amnesty.or.th/latest/blog/851/, สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566.
Almond, Kyle. (2019). “50 years ago, Pride was born. This is what it looked like.” Available from https://edition.cnn.com/interactive/2019/06/us/stonewall-pride-fred-mcdarrah-cnnphotos/, accessed on 1 June 2023.
Als, Hilton. (2019). Pride: Photographs after Stonewall. New York: OR Books.
Clinton, William J. (1999). “Proclamation 7203—Gay and Lesbian Pride Month.” The American Presidency Project. https://www.presidency.ucsb.edu/node/226664.
Gonzalez, David. (2016). “At Site of Gay Man’s Murder, a Street Corner Acknowledges Its Past.” Available from https://www.nytimes.com/2016/03/21/nyregion/at-site-of-gay-mans-murder-a-queens-street-corner-acknowledges-its-past.html, accessed on 1 June 2023.
Middleton, Margaret. (2022). 6 Things to consider when planning Pride events at your museum, available from https://www.museumnext.com/article/6-things-to-consider-when-planning-pride-events-at-your-museum/, accessed on 1 June 2023.
Middleton, Margaret. (2017). “The Queer-Inclusive Museum.” exhibition, fall 2017, available from https://www.margaretmiddleton.com/_files/ugd/ae50a5_2b5d14a1fbd44c38a111e952fc45b8b7.pdf?index=true, accessed on 1 June 2023.
Sandell, Richard. (2017). “Museums, Moralities and Human Rights.” Museum Meanings. London; New York: Routledge Taylor & Francis Group.
Walsh, Colleen. (2019). “Stonewall then and now: Harvard scholars reflect on the history and legacy of the milestone gay-rights demonstrations triggered by a police raid at a dive bar in Manhattan.” Available from https://news.harvard.edu/gazette/story/2019/06/harvard-scholars-reflect-on-the-history-and-legacy-of-the-stonewall-riots/, accessed on 2 June 2023.
ภาพปก จาก https://edition.cnn.com/interactive/2019/06/us/stonewall-pride-fred-mcdarrah-cnnphotos/