เรื่องราวของพิพิธภัณฑ์แห่งเกิดขึ้นในเมืองหลวงของโครเอเชีย ซึ่งตั้งอยู่ในยุโรปกลางแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ย่านเทรชเยฟกาในเมืองซาเกร็บเต็มไปด้วยคนย้ายถิ่นที่เข้าสู่เมืองใหญ่เพื่อแสวงหาโอกาส ในช่วงทศวรรษ 1870 เป็นต้นมา การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกิดขึ้นในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จากโรงประปา โรงไฟฟ้า สู่เส้นทางถนนและทางราง ก่อให้เกิดการลงทุนและการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
จำนวนโรงงานเพิ่มมากขึ้นในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ตามด้วยการเคหะสำหรับผู้ใช้แรงงานในทศวรรษ 1930 พร้อมกับชุมชนแออัดของแรงงาน ในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โครเอเชียตกอยู่ภายใต้การปกครองของยูโกสลาเวีย เทรชเยฟกากลายเป็นแหล่งอุตสาหกรรมขนานใหญ่ขึ้นอย่างไร้ทิศทาง
ภาพ 1 ย่านเทรชเยฟกาในซาเกร็บ อาคารหลายหลังบอกเล่าประวัติสาสตร์สังคมตั้งแต่ยุคการขยายตัวของอุตสาหกรรม ( © Branko Radovanović, ภาพจาก https://trek.zone/en/croatia/places/130864/tresnjevka-zagreb#gallery)
ตลอดศตวรรษคนในย่านเทรนเยฟกาต้องพึ่งพากันเองในการแก้ไขปัญหา ที่อยู่อาศัย การเจ็บไข้ได้ป่วย หรือการเรียกร้องสิทธิ์ ในที่สุด ค.ศ. 1991 โครเอเชียประกาศอิสรภาพ เทรชเยฟกาต้องเผชิญกับการความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับชนชั้นกลาง ด้วยมูลค่าที่ดินชานเมืองในเวลานั้นยังไม่สูงมากนัก ชาวเทรชเยฟกาต้องเผชิญกับแรงกดดันจากการพัฒนาเมืองระลอกใหม่ พื้นที่สีเขียวและพื้นที่สาธารณะลดจำนวนลง หลายคนอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงในการสูญเสียที่อยู่อาศัย
ตั้งแต่ ค.ศ. 2001-2015 กลุ่มคนทำงานบล็อก (BLOK) พัฒนาเทศกาลเมืองร่วมกับศิลปินในการใช้งานสร้างสรรค์เพื่อสร้างพลเมืองและเรียกร้องสิทธิของชนชั้นแรงงาน ผลงานสร้างสรรค์ เช่น ศิลปะจัดวาง ประติมากรรม เวิร์คชอป วงเสวนา วิดีโออาร์ต ภูมิทัศน์เสียง และการแสดง จัดแสดงตลอดระยะเวลา 2 สัปดาห์ มีธีมที่แตกต่างกันในแต่ละปี เช่น ค.ศ. 2010 เมืองที่เร่งรัดพัฒนากับพื้นที่สาธารณะที่ลดลง ค.ศ. 2012 การเมืองของความทรงจำ เป็นต้น
ในระยะต่อมา ตั้งแต่ ค.ศ. 2016 กลุ่มบล็อกร่วมมือกับคนในย่านเทรชเคฟกา ศิลปิน และองค์กรต่าง ๆ โดยมีบาซา (BAZA) เป็นพื้นที่หลักในการทำงาน และใช้ประเด็นในการทำงานที่แตกต่างกันในแต่เวที เช่น การเคหะและที่อยู่อาศัยของชาวเมือง ชีวิตในท้องถนนกับความสัมพันธ์ของคนต่างวัย เป็นต้น ตัวอย่างกิจกรรมได้แก่การฉายภาพยนตร์ในพื้นที่สาธารณะ การตั้งวงอภิปรายถึงความเปลี่ยนแปลงของเมืองและการมองภาพในอนาคต กระบวนการเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่สาธารณะในการสร้างบทสนทนาของคน(อยู่)เมือง โดยมีทุนอุดหนุนของสำนักงานวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองซาเกร็บที่แตกต่างกันในแต่ละปี
ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 2019 กลุ่มคนทำงานบล็อกเริ่มแคมเปญในการเก็บระดมสิ่งของและเรื่องราวจากผู้คนเพื่อจัดทำพิพิธภัณฑ์ย่านเทรชเยฟกา วัตถุประสงค์หลักคือการใช้วัฒนธรรมสามัญ ชีวิตประจำวันและความทรงจำให้กลายเป็นประวัติศาสตร์ และต่อกรกับมรดกวัฒนธรรมฉบับทางการที่เพิกเฉยกับชีวิตชุมชน พิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่หลายแห่งมุ่งแสวงหารายได้จากการท่องเที่ยว แต่กลับทิ้งคน(อยู่)เมืองไว้เบื้องหลัง
ภาพ 2 กราฟิกที่ใช้เรียกรวมตัวกันโนวาบาซา ในการระดมวัตถุและเรื่องราว เช่น ภาพเก่าของที่ทำงาน โรงเรียน สวนสาธารณะ หรือรองเท้าชีเมตส์กี (Šimecki) หรือวัตถุอื่น ๆ ที่ผลิตในโรงงานที่ตั้งในย่าน
(ภาพจาก https://www.blok.hr/system/article/image/255/large_MST-prikupljanje-fb_event.jpg)
การทำงานอาศัยช่องทางสื่อสารออนไลน์ ด้วยการเชิญชวนให้ผู้คนมารวมตัวกันในแต่ละประเด็น เช่น คนอพยพ ผู้หญิงในการกีฬา อดีตสหายที่ร่วมต่อสู้เพื่ออิสรภาพ ชนชั้นแรงงาน จากนั้น คนทำงานบันทึกเรื่องราวและถ่ายภาพวัตถุจากชาวบ้าน ได้แก่ เครื่องใช้ส่วนตัว สิ่งสะสม และภาพถ่ายของครอบครัว หัวข้อในการทำงานเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2023 ได้แก่ ชีวิตในวัยเยาว์ในสถานศึกษา หลายคนพกพารูปถ่ายหมู่ของตนเองในชั้นเรียน รองเท้าที่เคยใส่ในการเล่นกีฬา หรือเรื่องเล่าเกี่ยวกับกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี
ภาพ 3 เวทีของการระดมวัตถุและเรื่องราวจากชุมชน
(ภาพจาก https://www.blok.hr/system/articles_image/image/715/large__MG_9301.jpg)
คอลเลคชั่นที่ในรูปแบบดิจิทัลปรากฏในเว็บไซต์ของพิพิธภัณฑ์ตามธีมต่าง ๆ ได้แก่
นอกจากนี้ กลุ่มคนทำงานบล็อกพัฒนาความร่วมมือกับองค์กรอีกหลายแห่ง ได้แก่ SF:ius องค์กรที่ทำงานในประเด็นคนชายขอบ ร่วมจัดเส้นทางเรียนรู้สถานที่สำคัญในการต่อสู้เพื่อการปลดแอกประชาชน พิพิธภัณฑ์เทคนิคนิโคลา เทสลา ร้อยเรื่องราวของสถานที่ที่สะท้อนถึงการพัฒนาอุตสาหกรรม หรือ K-zona องค์กรเพื่อสิทธิสตรีและเพศทางเลือก นำเสนอเรื่องราวของผู้หญิงผ่านการท่องเที่ยว เป็นต้น
ภาพ 4 ตัวอย่างข้อมูลออนไลน์ คลังวัตถุของพิพิธภัณฑ์ย่านเทรชเยฟกา
(ภาพจาก https://www.muzejsusjedstvatresnjevka.org/system/gallery/image/630/133.jpg)
โดยรวมแล้ว พิพิธภัณฑ์ย่านเทรชเยฟกาอาศัยการทำงานร่วมกับชาวชุมชนในการนิยามคุณค่าวัฒนธรรมจากมุมมองของคนในชุมชน และอาศัยการสนับสนุนขององค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และหน่วยงานภาครัฐ ในวันนี้ พิพิธภัณฑ์ย่านเทรชเยฟกาพิสูจน์ให้เห็นถึงการอุทิศตนเพื่อสังคม ด้วยการทำงานอย่างต่อเนื่อง และได้รับรางวัลจาก Social Marie รางวัลเพื่อนวัตกรรมทางสังคม ค.ศ. 2020 คุณูปการสำคัญคือการสร้างพิพิธภัณฑ์ที่ชุมชนร่วมสร้างความหมาย และท้าทายเรื่องเล่าในประวัติศาสตร์กระแสหลัก อันเป็นรากฐานของประชาธิปไตยทางวัฒนธรรม
BLOK. (n.d.). URBANFESTIVAL. BLOK. http://www.blok.hr/en/urbanfestival
Mapiranje Trešnjevke. (n.d.). „Trešnjevka Mapping“ (Croatian: „Mapiranje Trešnjevke“). Mapiranje Trešnjevke. https://mapiranjetresnjevke.com/tresnjevka-mapping-croatian-mapiranje-tresnjevke/
Miklošević, Ž. (2023). Cause-Based Participative Relationships in Heritage Management. Heritage, 6(2), 1824–1838. https://doi.org/10.3390/heritage6020097
RESHAPE. (2021). Trešnjevka Neighborhood, Curatorial Collective BLOK. RESHAPE. https://reshape.network/event/tresnjevka-neighborhood-curatorial-collective-blok
ภาพปก ศิลปะบนกำแพงของศูนย์กีฬา เกิดขึ้นจากกิจกรรมเส้นทางการเรียนรู้ ''invisible players'' บทบาทของนักกีฬาสตรี ภาพโดย Ena Jurov ที่ต้องการถ่ายทอดเรื่องราวของสตรีที่เป็นนักกีฬาและคนทำงานในแวดวงที่ถูกลืมในเทรชเยฟกา จาก