การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
เชื่อว่าเพื่อนๆ ที่มาชมมิวเซียมสยาม น่าจะเคยเห็น "ตราอาร์มไทย" (ซึ่งปัจุบันเป็นสัญลักษณ์ของตำรวจและโรงเรียนนายร้อย จปร.) จัดแสดงในนิทรรศการถาวร ชุด ถอดรหัสไทย กันแล้ว
นับว่าสัญลักษณ์ที่เป็นที่คุ้นตาพวกเรากันอยู่แล้ว
.
แต่เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่า "ตราอาร์ม" นั้นเป็นวัฒนธรรมที่อิมพอร์ทมาจากยุโรปแล้วทำมาปรับใช้ให้เข้ากับวัฒธรรมไทย
.
โดยการใช้ตราอาร์มครั้งแรก เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย ผู้ดำรงตำแหน่งเสวกเอก(ขุนนางกระทรวงวัง เทียบเท่า Master of the Household ของอังกฤษ)พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม ผูกตราประจำประเทศขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2416
.
สำหรับตราอาร์มถูกสร้างในตามหลัก Heraldry ซึ่งเป็นศาสตร์ในการสร้างและให้ความหมายตราอาร์ม มาจากภาษาแองโกล-นอร์มันคำว่า "Herald" มีรากมาจากคำสมาทของภาษาเจอร์มานิค “Harja-waldaz” ที่แปลว่าผู้นำทัพ
.
สำหรับภาษาไทย หม่อมราชวงศ์คึกกฤทธิ์ ปราโมช แปลคำว่า "herald" ในหนังสือฝรั่งศักดินาว่า “มุทราศาสตร์” ซึ่งคำว่า "มุทรา" ในภาษาสันสกฤต(मुद्रा mudrā) แปลว่า ท่าทางแสดงสัญลักษณ์ เช่น เป็นปางต่าง ๆ ของพระพุทธรูป ฯลฯ