บทสนทนาแรกเกิดจากความไม่เข้าใจวัตถุจัดแสดงบางชิ้น เนื่องจากนิทรรศการถูกออกแบบมาให้รับชมได้ในสองมิติ มิติที่หนึ่งคือการชมแบบนิทรรศการทั่วไปที่ผู้ชมสามารถเดินชมนิทรรศการผ่านสื่อต่าง ๆ อย่าง วีดีทัศน์ วัตถุจัดแสดง ข้อความในนิทรรศการ และในมิติที่สองคือผ่านสิ่งที่เรียกว่า “ล่องรอย” คือการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อรับฟังเรื่องราวของบุคคลตัวเล็กตัวน้อยที่ใช้ชีวิตบนถนนราชดำเนิน เพื่อทำความเข้าใจผู้อื่น ในส่วนนี้เองจึงมีการออกแบบวัตถุจัดแสดงบางชิ้นที่มีแค่ผู้ชมที่ได้รับฟังเส้นเรื่อง “ล่องรอย” ของบุคคลนั้น ๆ ถึงจะเข้าใจวัตถุจัดแสดงชิ้นนั้นได้ ยกตัวอย่างวัตถุจัดแสดงเหล่านั้นคือ ขวดซอสหอยนางรม, โปสเตอร์วงดิอิมพอสซิเบิล, แป้งท้าวยายม่อมชูถิ่น, ขวดน้ำแดง, สติกเกอร์คนสวน กทม. เป็นต้น และต้นเรื่องของบทสนทนาที่นำมายกเป็นตัวอย่างนี้ก็คือ “ซอสหอยนางรม”
ซอสหอยนางรม เป็นวัตถุจัดแสดงของ เส้นเรื่อง “รสชาติราชดำเนิน” เป็นมุมมองราชดำเนินผ่านร้านอาหาร ในขั้นต้นผู้ชมวัยเบบี้บูมเมอร์ท่านหนึ่ง มีข้อสงสัยเกี่ยวกับวัตถุจัดแสดงชิ้นนี้ จึงเดินเข้าหาเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นวัยรุ่น บทสนทนาอื่นก็ตาม อาทิ เห็นน้ำมันหอยก็ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเครื่องปรุงที่เพิ่งเกิดขึ้น คนไทยเพิ่งบริโภค, เห็น แลนด์มาร์กโชว์รูมเบนซ์ ประกอบกับการเห็นที่นอนที่แลนมาร์กรัตนโกสินทร์ เลยนึกออกว่าเคยมีร้านขายที่นอนใยมะพร้าว ชื่อ “ศรีมหาราชา” เคยตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับโชวร์รูมเบนซ์, สนามหลวงสนุกมาก ไปหาซื้อหนังสืออย่างมีความสุข มีทุกอย่าง หนังสือเก่า หนังสือใหม่ราคาถูก หรือบางทีเราก็เอาหนังสือเก่าไปขาย มันคือชีวิตจิตใจ ยังไม่พอ เมื่อคุยกันออกรสออกชาติจึงทำให้จากประเด็นเกี่ยวกับนิทรรศการ นำไปสู่ประเด็นระหว่างวัย
บทสนทนาความ “พยายามเข้าใจ”
เกิดจากเรื่องแนวนิยาย ตกผลึกว่าสื่อในปัจจุบันนั้นมีหลากหลาย คุณป้าพยายามถามสื่อที่เราสนใจรับชมเป็นงานอดิเรก เพื่อกลับไปเข้าใจหลานที่บ้าน หลังจากชมนิทรรศการ “ล่องรอย ราชดำเนิน : นิทรรศการผสานวัย” แล้วเกิดข้อสงสัยจึงได้คุยกับเจ้าหน้าที่ที่เป็นวัยรุ่น และคุณป้าได้รับคำตอบสุดท้ายว่า แต่ไม่แน่ว่า หากคุณป้าได้ลองกลับไปคุยกับหลานที่บ้าน ก็จะได้รับคำตอบ หรือสื่อที่หลานชอบนั้น แตกต่างกับเจ้าหน้าที่อย่างเราโดยสิ้นเชิง ก็เป็นอันได้ตกผลึกกันอีกครั้งว่า เป็นอย่างนั้นได้อย่างไร จึงมีคำตอบที่พยายามช่วยกันตอบว่า สมัยก่อนมีสื่อที่ไม่ได้มากเท่าสมัยนี้ มีทีวีไม่กี่ช่อง มีนิยายไม่กี่นามปากกาดัง แตกต่างจากสมัยภายหลังโลกาภิวัฒน์ที่ มีสื่อให้รับได้หลายช่องทาง จึงมีวัฒนธรรมย่อย ที่ต่อให้คุณป้าเข้าใจวัยรุ่น (เจ้าหน้าที่) ในนิทรรศการแล้ว คุณป้าก็ยังหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องกลับไปทำความเข้าใจวัยรุ่นที่บ้านอีกครั้ง แม้คุณป้าจะพยายามสื่อสารกับเราว่าเข้าใจยากมากที่สุดก็คือคนที่บ้าน แต่เราเชื่อว่าด้วยบทสนทนาอย่างเมามันส์เป็นชั่วโมง ๆ อันจำกัดที่นิทรรศการหนึ่งจะทำได้นั้น ความค้างคาใจจะทำให้คุณป้ากลับไปสนทนาต่อกับหลานในที่สุด