Museum Core
ความทรงจำในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์
Museum Core
30 ก.ย. 63 7K

ผู้เขียน : สรวิชญ์ ฤทธิจรูญโรจน์

ความทรงจำในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์

 

 

 

จดหมายเหตุกับการศึกษาประวัติศาสตร์

 

การศึกษาประวัติศาสตร์ ก็เหมือนกับการสืบสวนสอบสวน เพราะว่าในหลายกรณีผู้ศึกษาไม่ได้มีชีวิตอยู่ร่วม ณ เวลานั้น เช่น  คนในสมัยนี้อยากจะศึกษาราชดำเนินเมื่อร้อยกว่าปีก่อนนั้น ความจริงจะเป็นอย่างไร คนอยู่ร่วมเหตุการณ์นั้นก็เสียชีวิตกันไปหมดแล้ว เราจะใช้อะไรยืนยันหรือใช้เป็นหลักฐานเพื่อยืนยันว่าอดีตนั้นเป็นอย่างไร 

 

ยกเว้นเสียว่าจะใช้หลักฐาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชั้น  คือ 

 

หลักฐานชั้นต้น ได้แก่ records เปรียบเทียบกับทางนิติวิทยาศาสตร์คือ  ตรวจปุ๊บ ก็เชื่อถือได้เลย

หลักฐานชั้นรอง  ได้แก่ บันทึกความทรงจำต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกร่วมสมัยเหตุการณ์นั้น ๆ  ความน่าเชื่อถือก็จะอ่อนกว่า  เนื่องจาก เช่น ถ้าให้นักศึกษาธรรมศาสตร์ในช่วงปีพ.ศ.2536 – 2540  เขียนบันทึกความทรงจำของตัวเองเกี่ยวกับกิจกรรมนักศึกษา แต่ละคนย่อมเขียนออกมาไม่เหมือนกัน   ซึ่งมีข้อมูลประวัติศาสตร์อยู่ในนั้นแต่ละคนต่างเขียนผ่าน perspective ที่ต่างกัน   เช่น เดียวกับ บันทึกของลาลูแบร์ ต้องเข้าใจว่าเป็นหลักฐานชั้นรองเช่นเดียวกัน  

หลักฐานชั้นที่สาม คือ ข้อมูลที่ถูกเรียบเรียงขึ้นใหม่จากหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรองออกมาในรูปของหนังสือ หรืองานวิจัย เป็นต้น  

 

ในนิทรรศการนี้ใช้หลักฐานทั้ง 3 ประเภทดังกล่าว ซึ่งผู้ชมจะต้องแยกให้ออก และจะเชื่อข้อมูลอันไหน  ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า  นิทรรศการนี้ไม่ได้เสนอความจริง 100 เปอร์เซ็นต์และไม่มีนิทรรศการไหนทำได้  หลังจากดูแล้วแล้วต้องนำไปคิดต่อ 

 

ภาพถ่าย  ภาพวาด ที่นำมาจัดแสดงอาจเป็นได้ทั้งงานศิลปะ หรือ สิ่งที่เรียกว่า Archives  ไม่จำเป็นต้องเอกสารหรือถูกบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเสมอไป   อย่างภาพของ ร้านลิขิตไก่ย่าง  โปสเตอร์วงดิอิมพอสสิเบิ้ล  โปสเตอร์หนัง 2499 อันธพาลครองเมือง   ใบเสร็จรับเงินของห้างแบดแมน    ก็เป็นจดหมายเหตุ เพราะได้ทำการบันทึกเหตุการณ์ในช่วงหนึ่งไว้ 

 

Archives  แบ่งออกเป็น records  บันทึกความทรงจำของพ่อจารุพงษ์ ก็เป็น Archives แบบหนึ่งเช่นกัน   ขณะที่จดหมายของพี่ญานินแม้จะบันทึกความทรงจำไว้ยังไม่ถือเป็น Archives เพราะเพิ่งถูกเขียนขึ้นมา ไม่ได้บันทึกไว้ ณ ช่วงเวลาที่เกิดขึ้น

 

 

ในฐานะนักวิชาการด้านจดหมายเหตุ  มองนิทรรศการนี้อย่างไร 

 

นิทรรศการนี้ตอบโจทย์ Users ในศตวรรษที่ 21 ที่อยากรู้ประวัติศาสตร์โดยเป็นแหล่งเรียนรู้แบบ GLAM  ซึ่งปกติผู้ชมนิทรรศการส่วนใหญ่ไม่ต้องการใช้เวลามาก แต่ก็อยากรู้ประวัติศาสตร์หลากหลายมิติ  มีความหลากหลายทางมรดกทางวัฒนธรรม  ซึ่งกินความกว้างรวมถึงทุกสิ่งอย่างที่มนุษย์ได้ทิ้งร่องรอยไว้  ทำให้เห็นความหลากหลายของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

 

นิทรรศการนี้เป็นตัวอย่างที่ดีในการทำความเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า  Archives   วัตถุจัดแสดงชิ้นนี้เป็น Records   แต่ชิ้นนี้เป็น  Data   ตามปกติในการเรียนการสอนในชั้นเรียนมักจะไม่เห็นภาพว่ามันมีนัยยะอย่างไร เราจะรู้อดีตไปเพื่ออะไร  เพราะเมื่อก่อนเราจัดการมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้แยกจากกัน ไว้กันคนละที่ พอมันมาอยู่ด้วยกันสิ่งที่เกิดขึ้นชัดเจนคือ  Awareness   หรือความตระหนักถึงคนในยุคนี้ว่า อดีตที่ผ่านมาให้บทเรียนอะไร  ได้ lesson learn อะไร   พอมันมาอยู่ด้วยกันมันทำให้เห็นในทุกมิติ  ซึ่งถ้าหากแยกกันอยู่คนละที่ก็ยากที่เห็น  ซึ่งถือเป็นตัวอย่างการที่ดีในแง่ของการบูรณาการ  

 

ซึ่งแต่ละอันมีจุดเด่นจุดด้อยต่างกัน  แต่เมื่อมาอยู่ในที่เดียวกันจะช่วยส่งเสริมกัน เช่น  Gallery และ Museum  มักใช้ประสาทสัมผัสทางตา มีจุดเด่นคือให้ความรู้สึกได้ง่าย  แต่หลายครั้งมักขาด Data ที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อยืนยันว่ามันคืออะไร  เช่น ภาพวาดสีน้ำของกลุ่มบางกอกสเกตเชอร์ เป็นต้น   ในขณะที่ Library กับ Archives มีความหนักแน่นในการใช้เป็นหลักฐานข้อมูล  และถ้ารวมทั้ง 4 เข้าไว้ด้วยกันถ้าจัดการได้ดีจะ perfect   แต่อย่าลืมว่าทั้งสี่นี้มีชั้นความน่าเชื่อถือแตกต่างกัน   ขึ้นอยู่กับผู้ชมแล้วว่าจะเชื่อถืออันไหน

 

ในแง่ของคนทำงานองค์การเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมว่าสิ่งที่คุณเก็บรักษาอยู่คืออะไร ถ้าหากรวมกันได้จะเกิดประโยชน์อย่างไร  แต่การที่เอาทุกอย่างมารวมกันก็ต้องเข้าใจความต่างของแต่ละองค์การด้วย  สำหรับผู้ชม (Users) จะเกิดประโยชน์คือเกิดแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมกับโลกในศตวรรษที่ 21 คือการสร้างกระบวนการเรียนรู้ (Learning) ไม่ใช่การให้ความรู้ (Knowledge) คือแม้ว่าจะรวมทุกอย่างไว้ในที่เดียว แต่ไม่ได้หมายความว่า นี่คือความรู้ที่คุณต้องเชื่อ  แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่คุณจะไปศึกษาค้นคว้าต่อ     

 

 

นิทรรศการนี้ทำให้เห็น ร่องรอยของความเป็นจริง ได้มากน้อยแค่ไหน

 

สิ่งที่ถูกนำเสนอในนิทรรศการเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงบนถนนราชดำเนิน   แต่ถ้าถามถึงความเป็นจริงแท้มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้  การเห็นความเป็นจริงไม่ใช่การเห็นของจริง หรือวัตถุจัดแสดงแท้ๆ ที่ไม่ได้ถูกจำลองขึ้นมา  ประเด็นสำคัญอยู่ที่การตระหนักถึงของที่อยู่ตรงหน้าที่ให้ข้อมูลอะไรบางอย่าง  และก็ไม่ใช่ว่ามามิวเซียมที่เดียวแล้วคุณจะได้คำตอบ ซึ่งการมาดูนิทรรศการนี้เหมือนกับ Pilot study แค่ให้รู้ว่ามีบางส่วนบางเสี้ยวอยู่ที่ไหนตรงไหนบ้าง แล้วค่อยไปหาของจริงในลำดับต่อไป    นิทรรศการไม่อาจให้คำตอบที่แท้จริง เพียงแค่ให้ข้อมูลที่ได้รวบรวมมา หน้าที่ของคุณคือ ต้องตอบเอาเองว่า ข้อมูลเหล่านั้นน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน  

 

เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ไม่มี Truth มีแค่ว่าเราเจอ Fact เจอ Opinion  แล้วเรานำจิ๊กซอว์เหล่านั้นมาต่อด้วยมุมมองของเรา แล้วทำให้เราได้เรียนรู้อะไรมากกว่า  ไม่มีใครรู้หรอกว่าความจริงเป็นอย่างไร เป็นการฝึก Critical Thinking มากกว่า   

 

ยกตัวอย่าง เช่นล่องรอยทั้ง 8 เส้นเป็นตัวอย่างที่ดีว่า ชุดความจริงมีหลายชุดขึ้นอยู่กับว่า ใครเป็นคนเล่า จริงๆ แล้วเป็นเพียง Represetative หรือเปล่าที่เอามาเล่าใหม่ซึ่งห่างจากต้นฉบับ (เช่น คนไร้บ้านจริงๆ )  แต่อย่างน้อยเราศึกษาในแง่  Narratives ที่อาจทำให้ผู้ชมเข้าใจสิ่งที่อยากจะสื่อมากขึ้น  และที่น่าสนใจคือหลังจาก เล่นล่องรอยแล้ว ผู้ชมอาจสร้างชุดความรู้ของตัวเองขึ้นมาใหม่อีกก็ได้    

           

 

ประวัติศาสตร์ราชดำเนินจากความทรงจำ ในมุมของนักจัดการมรดกทางวัฒนธรรม

 

ย้อนกลับไปหาคำว่ามรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งความหมายครอบคลุมทุกสิ่งอย่างที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของมนุษย์หรือคนในยุคหนึ่งๆ ได้ทิ้งร่องรอยเอาไว้ให้คนรุ่นต่อ ๆ ไป อาจนำไปใช้งาน ใช้ประโยชน์ต่อได้     แน่นอนว่าในความทรงจำนั้นประกอบไปด้วย Data ที่เป็นข้อเท็จจริงและความเห็นส่วนบุคคล  

 

ซึ่งถ้าคนรุ่นหลังต้องการนำความทรงจำเหล่านี้ไปใช้ตอบโจทย์เพื่อหาความจริงอะไรบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับราชดำเนิน  เราสามารถใช้หลักการทางประวัติศาสตร์ คือ หลักการพิจารณาความน่าเชื่อถือบนหลักฐานแต่ละชิ้นได้   เช่น  บทสัมภาษณ์คุณลุงสำราญ ที่เล่าผ่านประสบการณ์ตรงที่มีต่อเหตุการณ์นั้น  ส่วนหนึ่งเป็น perspective ของคุณลุงที่เกิดขึ้นร่วมสมัยกับเหตุการณ์นั้น แต่จะครบถ้วนหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการระลึกถึง recall   ด้วยเหตุนี้ในทางระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ จึงเป็นหลักฐานชั้นรอง  นำไปใช้อ้างอิงได้ อาจให้จิ๊กซอว์มาตัวนึงว่า เคยมีไนท์คลับอยู่ที่ตรงนั้น   

 

แต่มันน่าสนใจตรงที่เป็นจิ๊กซอว์ที่ให้ภาพและความรู้สึก แต่อาจต้องหาหลักฐานบางอย่างเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการมีอยู่จริง  เช่น records  ในกรณีนี้อาจเป็นใบขออนุญาตเปิดสถานบันเทิงของโลลิต้า   นั่นหมายความว่า เราได้หลักฐานชั้นต้นจดหมายเหตุที่เป็น records และภาพถ่าย  ซี่งทั้งสองนี้ให้ข้อเท็จจริงยืนยันว่ามีโลลิต้าจริง  เคยเปิดกิจการตั้งแต่วันนี้ถึงวันนี้  แล้วไงต่อผู้ชมได้เห็นหลักฐานเป็นใบขออนุญาตและภาพถ่าย   คนรุ่นหลังได้ data และ Fact ไปแล้วจะรู้สึกอินอะไรด้วยไหม  สิ่งที่คุณลุงเล่าที่เป็นหลักฐานชั้นรองก็ตามทำให้รู้สึกสนุกและตื่นเต้นไปด้วย    ทั้งหมดนี้ทำให้เราได้ทั้งข้อเท็จจริง และมีทั้งความคิดเห็นที่มีแหล่งที่มาชัดเจนและเชื่อถือได้   มันทำให้ประวัติศาสตร์มีชีวิตชีวา ไม่แห้งแล้ง    แต่ก็ต้องให้ความสำคัญกับหลักฐานหลายประเภทประกอบกันด้วย    

 

 

 สัมภาษณ์ ดร.วราภรณ์  พูลสถิติวัฒน์ ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรมบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

 

  

แกลเลอรี่


ย้อนกลับ