การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
มองโมเสก
เมืองปาแลร์โม (Palermo)
เรายังคงอยู่ที่ โบสถ์มาร์โตรานา (Martorana) แห่งเมืองปาแลร์โม หรือที่รู้จักในนาม โบสถ์นักบุญหญิงมารีอา (Maria) ของท่านนายพลเรือ ซึ่งภายในมีผลงานโมเสก 2 ชิ้น ที่ควรค่าแก่การกล่าวถึง คือ
รูปหนึ่งเป็นพระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้ารุจเจโรที่ 2 (Ruggero II) แต่งพระองค์อย่างจักรพรรดิแห่งอาณาจักรไบแซนไทน์ (Byzantine) ได้รับการปราบดาภิเษกโดยพระเยซูซึ่งปรากฏพระวรกายอยู่ด้านขวา ดังรูปที่เห็นอยู่นี้
ส่วนอีกรูปแสดงภาพท่านผู้บัญชาการกองเรือ ผู้อุปถัมภ์ในการสร้างโบสถ์แห่งนี้ หมอบลงกับพื้น ต่อหน้าพระนางมารีย์พรหมจารี ซึ่งช่วยวิงวอนพระเยซูให้ช่วยคุ้มครองท่านนายพล
เมื่อพิจารณาภาพโมเสกทั้งสองชิ้นคู่กันแล้ว เราจะเห็นถึงการไหลวนของอำนาจที่เป็นช่วงชั้นอย่างชัดเจน กล่าวคือ อำนาจส่งตรงจากพระเยซูผ่านมายังผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐ ซึ่งก็คือพระเจ้ารุจเจโรที่ 2 จากกษัตริย์ส่งต่อสู่ท่านมหาอำมาตย์ คือท่านนายพลเรือ แล้วกลับคืนสู่พระคริสต์ผ่านการร้องขอจากพระแม่มารีย์
รูปที่หนึ่ง คุณได้เห็นแล้วที่นี่ แล้วรูปที่สองหล่ะ อยากเห็นกันมั้ย?
โอกาสเป็นของคุณแล้ว!
เพราะมิวเซียมสยาม ร่วมกับสถานทูตอิตาลี ได้นำผลงานโมเสกทั้งสองชิ้นเอกจากโบสถ์มาร์โตรานาแห่งนี้ มาให้คุณได้ยลกันถึงที่ประเทศไทยแล้ว
ถึงแม้จะไม่ได้ขนชิ้นงานจริงมาจัดแสดง แต่เป็นนิทรรศการแนวใหม่ ที่นำเสนอผลงานโมเสกชิ้นเด็ดๆ ผ่านเทคโนโลยีสื่อ มีการฉายภาพ ประกอบเสียงบรรยาย ให้คุณได้เห็นชัดๆ จุกๆ แบบกระจ่างตากันไปเลย ว่างั้น
นิทรรศการ “มองโมเสก” ถอดรหัสหัตถศิลป์ จากดินแดนอิตาเลีย
จัดแสดงระหว่าง 28 พฤษภาคม – 25 มิถุนายน นี้ ทุกวัน เว้นวันจันทร์ / ฟรี ไม่มีค่าเข้าชมคร้าบบบ
#Mosaico #ItalianCodeOfATimelessArt
#Exhibition #EmbassyOfItalyInBangkok
#Multimedia&ImmersiveArt #Mosaic #ImmersiveExperience #DigitalArt #History&Sensory #Italy
#MuseumSiam