การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
รู้หรือไม่ ไม่ใช่แค่ป้อมเมืองบางกอก ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่มิวเซียมสยาม แต่ยังเคยเป็นที่ตั้งของวังในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่เรียกกันว่า วังท้ายวัดพระเชตุพน ฟังดูคล้ายว่าจะมีแค่วังเดียว แต่จริงๆ แล้วพื้นที่ตรงนี้มีด้วยกัน 5 วัง
ตำนานวังเก่า นิพนธ์ในกรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวถึง "วังท้ายวัดพระเชตุพน" ว่า ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ชายธงที่ถนนมหาราชและถนนมหาไชยมาจบกันตรงบริเวณปากคลองคูเมืองเดิม และบริเวณดังกล่าวคือด้านหลังวัดโพธิ์หรือวัดพระเชตุพนฯ จึงเรียกกลุ่มวังตรงนี้ว่า วังท้ายวัดพระเชตุพน
เจ้านายองค์ใดบ้างที่ประทับอยู่ที่นี่บ้าง? (วังท้ายวัดพระเชตุพน)
ในตำนานวังเก่าบอกไว้ว่าพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 3 ที่ออกวังรุ่นแรก (เป็นหนุ่ม) ได้มาประทับอยู่ที่วังท้ายวัดพระเชตุพน 5 วัง 5 พระองค์ได้แก่ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ กรมหมื่นเชษฐาธิเบน กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร พระองค์เจ้างอนรถ และกรมหมื่นภูมินทรภักดี
หากย้อนกลับไปในสมัยอยุธยา จะพบว่าพื้นที่บริเวณนี้ทั้งหมดคือส่วนหนึ่งของป้อมเมืองบางกอก วังท้ายวัดพระเชตุพน ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 จึงสร้างทับซ้อนพื้นที่ของป้อมเมืองบางกอกนั่นเอง และในการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อพ.ศ. 2549-2550 นั้น เรายังได้พบฐานของอาคารในสมัยรัชกาลที่ 3 และฐานอาคารสมัยต่อมาซ้อนทับกันเกือบทั้งบริเวณ และจากหลักฐานจากการขุดค้น การสืบค้นจากเอกสาร และการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบสถาปัตยกรรม ได้นำมาสู่การสันนิษฐานรูปแบบของอาคารท้องพระโรงของวังท้ายวัดพระเชตุพน ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่ มิวเซียมใต้ดิน บริเวณสถานีรถไฟฟ้าสนามไชย