ภาพปก (ที่มาจาก: สมโภช 150 ปี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม https://www.facebook.com/WatRajabopit/posts/117927119720454/
“วังท้ายวัดพระเชตุพน” เปรียบเสมือนศูนย์รวมงานหัตถศิลป์สำคัญของไทย เนื่องด้วยเจ้าของวังแต่ละพระองค์ล้วนแล้วแต่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตเชิง “ช่าง” ทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “กรมช่างมุก” ที่มีหน้าที่ในการทำเครื่องประดับมุก
อาจต้องกล่าวย้อนไปในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ถือว่าเป็นรัชสมัยที่มีการสร้างบูรณะ ปฏิสังขรณ์ วัดวาอารามต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ในการสร้าง บูรณะปฏิสังขรณ์วัดนั้น งานประดับมุกเป็นงานประณีตศิลป์ที่มีความละเอียดอ่อน และเป็นงานช่างชั้นสูงใช้ในการประดับตกแต่งอาคารโดยเฉพาะการทำบานประตู บานหน้าต่าง ซึ่งเป็นงานศิลปะชั้นสูงใช้เพื่อสถาบันพระมหากษัตริย์หรือพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ
ณ วังท้ายวัดพระเชตุพนแห่งนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 3 เคยเป็นที่ประทับของกรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์
กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ และกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ที่ทรงได้รับการยกยองว่ามีฝีมือยอดเยี่ยมในงานประดับมุก และได้ฝากฝีมือกับบานประตูที่ถือว่าเป็นงานประดับที่เก่าแก่ที่สุดและงดงามที่สุด อย่างบานประตูประดับมุกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม บานประตูนี้มีรูปแบบที่งดงามและมีลวดลายเรื่องราวแตกต่างจากไปบานประตูมุกรูปแบบเดิม วังท้ายวัดพระเชตุพน ยังเป็นที่ประทับของเจ้านายที่ทรงกำกับกรมช่างมุกและช่างสิบหมู่ต่อมาอีกหลายพระองค์ เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดีและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ แต่ละพระองค์ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับการซ่อมสร้างวัดวาอารามต่างๆ ทั้งสิ้น
ดังนั้น หอยมุกที่พบในพื้นที่วังท้ายวัดพระเชตุพน จึงเป็นหลักฐานชั้นเยี่ยมที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับงานช่างประดับมุกในรัชกาลที่ 3-รัชกาลที่ 5 ก่อนที่พื้นที่วังถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นอาคารสำนักงาน
สมัยใหม่อย่างกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2463
ภาพที่ 1 แผนที่แสดงตำแหน่งวังท้ายวัดพระเชตุพนและเจ้านายที่ประทับอยู่ ณ ที่นี้ส่วนใหญ่กำกับ
กรมช่าง เช่น ช่างสิบหมู่ ช่างมุก สนองงานการสร้างบูรณะ ปฏิสังขรณ์ วัดวาอารามต่าง ๆ
ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 3 ถือว่าเป็นรัชสมัยที่มีการสร้าง บูรณะ วัดเป็นจำนวนมาก
ภาพที่ 2 วังท้ายวัดพระเชตุพน เปรียบเสมือนศูนย์รวมงานหัตถศิลป์สำคัญของไทย เจ้าของวัง
แต่ละพระองค์ล้วนแล้วแต่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตเชิง “ช่าง” ทั้งสิ้น เช่น กรมช่างมุก มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่น
มาตยาพิทักษ์ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ นอกจากนี้ ยังมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นภูมินทรภักดี ทรงกำกับช่างสิบหมู่ ก็ประทับอยู่ที่วังท้ายวัดพระเชตุพน
ภาพที่ 3 บริเวณที่พบฐานรากของวังท้ายวัดพระเชตุพนฯ ได้ขุดค้นพบเปลือกหอยมุกเป็นจำนวนมาก
มีทั้งหอยมือเสือและหอยนมสาว เปลือกหอยมุกเหล่านี้ใช้ทำงานประดับมุก นอกจากนั้นยังพบ
เปลือกหอยที่มีการตัด เจียรเป็นแผ่นเล็ก ๆ มีทั้งรูปวงกลม รูปเหลี่ยม รูปมุมมน และในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อเตรียมประดับแผ่นมุกลงในชิ้นงานที่เตรียมไว้