การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) หน่วยงานภายในของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินโครงการรวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อนำเสนอต่อสาธารณะ มีแผนงานจัดเก็บข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ของทุกจังหวัดในประเทศไทยและนำเสนอองค์ความรู้ดังกล่าวในรูปแบบที่เข้าใจง่าย มีความทันสมัย เหมาะสมกับการเรียนรู้ทันโลกปัจจุบัน รองรับการเรียนรู้ได้อย่างสนุกสนานและเพลิดเพลิน ตามแนวคิดและปรัชญาของ สพร. ได้เผยแพร่ออกสู่ทุกภูมิภาคและมุ่งตรงเข้าหาเด็ก เยาวชน รวมทั้งประชาชนทั่วไป เริ่มต้นที่จังหวัดตราดเป็นแห่งแรก ในชื่อ “หลักฐานอ่านเมือง”
โดยมิวเซียมสยามได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลหลักฐานจากสถานที่ คน สิ่งของและโบราณวัตถุ แบ่งเวลาตามยุคสมัยที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ขึ้นในจังหวัดตราด จนเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนามาเป็นจังหวัดตราดในปัจจุบัน เวทีนำเสนอข้อมูลครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2559 ณ ห้องประชุมอุทยานการเรียนรู้ตราด โดย คุณปรมินทร์ เครือทอง (ที่ปรึกษาสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ) ในหัวข้อ “ปฐมบท : ประวัติศาสตร์เมืองตราด” และ คุณธนัท ชยพัทธฤทธี (ทีมงานสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ) ในหัวข้อ “นำเสนอข้อมูลประวัติศาสตร์เมืองตราดผ่านหลักฐานสำคัญ” พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เข้าร่วมงานเสวนาครั้งนี้ด้วย