การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
บ้านเอกะนาค ตั้งอยู่ในซอยอิสรภาพ 15 แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นผู้ครอบครองดูแล กรมธนารักษ์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
บ้านเอกะนาคมีลักษณะเป็นเรือนไทยก่ออิฐถือปูน ผู้สร้างซึ่งเป็นเจ้าของบ้านคือ พันตำรวจเอก พระยาประสงค์สรรพการ (ยวง เอกะนาค) อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ และเป็น 1 ใน 24 ท่านที่เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ซึ่งก่อกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2490
ต่อมาบ้านเอกะนาคตกเป็นของบุตรสาว คือ คุณประยูร เอกะนาค และเนื่องจากคุณประยูรไม่มีทายาทสืบสกุล บ้านเอกะนาคจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา) ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม บ้านเอกะนาคได้ถูกทิ้งร้าง มีสภาพชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา จนกระทั่ง พ.ศ.2535 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจึงได้ริเริ่มโครงการเพื่อบูรณะ จนได้ดำเนินการบูรณะใน พ.ศ.2540 และจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ศูนย์กรุงธนบุรีศึกษา
บ้านเอกะนาคมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหนึ่งของอาคารมีห้องรูปห้าเหลี่ยมอยู่ตรงมุมอาคาร เหนือขึ้นไปบริเวณหน้าจั่วตกแต่งลายไม้ฉลุ เอกลักษณ์พิเศษของบ้านเอกะนาค คือบริเวณห้องชั้น 2 ช่องลมที่เป็นแผ่นลายไม้ฉลุทั้งหมด มีการฉลุลายแสดงชื่อเดิมของพันตำรวจเอก พระยาประสงค์สรรพการ เมื่อเดิมขึ้นบันไดสู่ชั้นบนจะเห็นประตูบานเฟี้ยมซึ่งกั้นระหว่างส่วนนอกกับส่วนใน ประตูบานเฟี้ยมนี้ช่องด้านบนสุดฉลุเป็นลวดลายพรรณพฤกษาล้อมตัวหนังสือ 3 ตัว คือ ยวง
ภาพจากหนังสือ ลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิง สุนทรียภาพแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดย ภูชัย กวมทรัพย์