การประชุมวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์
Museum Forum 2017
Museum Education NOW!
Agenda, Practice, Conflict and Solution
แกะปมแก้ปัญหางานการศึกษาในพิพิธภัณฑ์ไทย
วันที่ 2-3 สิงหาคม 2560 เวลา 09.00-16.30 น.
ขอเชิญร่วมส่งบทคัดย่อ
ประเด็นที่ให้ความสนใจในการสำรวจ ถกเถียง และแบ่งปันประสบการณ์ มีดังต่อไปนี้
I งานการศึกษาของพิพิธภัณฑ์และความเชื่อมโยงกับระบบการศึกษาหลัก
ว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างระบบการศึกษาหลักและพิพิธภัณฑ์ในระดับต่างๆ
-การจัดการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ให้สอดรับกับหลักสูตรการศึกษา
-การทำงานร่วมกันระหว่างนักการศึกษาและครู
-การใช้พิพิธภัณฑ์เป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้ในระบบการศึกษา
-การจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน ในช่วงวัยต่างๆ
-การจัดการเรียนรู้ให้พิพิธภัณฑ์ให้เป็นทางเลือกของระบบการศึกษา
II พิพิธภัณฑ์ในฐานะการศึกษานอกระบบ (non formal education, life-long learning) และแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย
ในฐานะแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย/แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต พิพิธภัณฑ์สามารถจัดการเรียนรู้ หรือร่วมเรียนรู้กับสังคมได้อย่างไร
-การจัดการเรียนรู้นอกระบบผ่านพิพิธภัณฑ์
-การสร้างการเรียนรู้ระหว่างพิพิธภัณฑ์และชุมชนลักษณะต่างๆ
-ข้อจำกัดและการส่งเสริมศักยภาพของพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้นอกระบบสำหรับคนกลุ่มต่างๆ
-พิพิธภัณฑ์และการสร้างการเรียนรู้ให้กลุ่มครอบครัว
-เด็ก วัยรุ่น ผู้สูงวัย ในพิพิธภัณฑ์
-พิพิธภัณฑ์และการเข้าถึงกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงพิพิธภัณฑ์ เช่น ผู้อพยพ คนชายขอบ คนด้อยโอกาส
-การสร้างการเรียนรู้ให้ผู้ที่มีข้อจำกัดทางกายภาพ
III การวิจัยและพัฒนา
การวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ๆของพิพิธภัณฑ์ สามารถทำได้ในรูปแบบใดบ้าง
-การออกแบบโปรแกรมการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์
-การวัดผลการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์
-การวิจัยผู้ชม/ การวิจัยโปรแกรมการศึกษา
IV บุคลากรด้านการศึกษากับงานพิพิธภัณฑ์
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรที่ทำงานด้านการศึกษา ทั้งในพิพิธภัณฑ์เอง และระหว่างพิพิธภัณฑ์กับองค์ประกอบอื่นๆในสังคม
-บทบาทครูกับงานพิพิธภัณฑ์
-บทบาท/ การทำงานของนักการศึกษาในพิพิธภัณฑ์
-ภัณฑารักษ์กับนักการศึกษา
V พิพิธภัณฑ์และการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
พิพิธภัณฑ์สามารถเป็นพลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างไรบ้าง
-การสร้างพลังร่วมระหว่างพิพิธภัณฑ์และชุมชนต่างๆ
-การสร้างการเรียนรู้ใน “คุณค่า” ต่างๆ เช่น ประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความเท่าเทียม ความดี ความงาม ความเลื่อมล้ำทางสังคม สิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน ฯลฯ
VI การใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้
ว่าด้วยแนวคิดและประสิทธิภาพในการใช้สื่อชนิดต่างๆเพื่อการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์/นิทรรศการ เช่น
-วัตถุจัดแสดง
-ดิจิทัล
-เกม
-ละคร
-สื่อเรียนรู้ที่จับต้องได้
-ภาพยนตร์
-สิ่งพิมพ์
-สื่อปฏิสัมพันธ์ (interactive media)
-สื่อออนไลน์
กำหนดการสำคัญ
ส่งบทคัดย่อภาษาไทยในรูปแบบไฟล์ Microsoft Word ความยาวไม่เกิน 2 หน้า
รูปแบบอักษร Cordia New ขนาดอักษร 16 ระบุรายละเอียด ดังนี้
-บทคัดย่อประกอบด้วย ชื่อหัวข้อ, จุดประสงค์การวิจัย, วิธีการศึกษา พร้อมผลและบทสรุป (ถ้ามี)
-ชื่อผู้เขียน ตำแหน่ง หน่วยงานต้นสังกัด หรือสถานศึกษา
-หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อและอีเมล
ส่งบทคัดย่อมาที่ museumforum2017@gmail.com ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 และจะทำการประกาศตอบรับบทคัดย่อภายในวันที่ 5 มิถุนายน 2560 ทางอีเมลและเว็บไซต์ ผู้ได้รับการพิจารณาคัดเลือกเพื่อนำเสนอผลงาน ต้องส่งบทความขนาด 15-20 หน้า/โครงร่างการนำเสนอภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2560 ทั้งนี้ ต้องเป็นบทคัดย่อและบทความที่เขียนขึ้นใหม่และไม่เคยเสนอหรือตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน
-ประกาศรับบทคัดย่อ (30 มีนาคม 2560)
-ปิดรับบทคัดย่อ (15 พฤษภาคม 2560)
-ประกาศผลตอบรับบทคัดย่อ (5 มิถุนายน 2560)
-ประกาศกำหนดการประชุมฯและเปิดลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม (5 กรกฎาคม 2560)
-ส่งบทความ 15-20 หน้า (7 กรกฎาคม 2560)
-การประชุมวิชาการ (2-3 สิงหาคม 2560)
สอบถามเพิ่มเติม
ฝ่ายวิชาการ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
ข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02-225-2777 ต่อ 420 หรือ 081-927-9328 เวลา 10.00 น.-17.00 น.
e-mail : museumforum2017@gmail.com
website : museumsiam.org