การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
เศษภาชนะดินเผาจากการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่มิวเซียมสยามจำนวนหนึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีการนำเข้ามาจากยุโรปเพื่อเป็นเครื่องใช้ภายในวัง เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ผ่านกระบวนการเคลือบและส่วนใหญ่ใช้เทคนิคการพิมพ์ลายแบบ Transfer print ซึ่งเป็นเทคนิคที่เริ่มต้นในอังกฤษ ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 – 19 เทคนิคนี้ตอบรับช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ต้องการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก
Transfer print คนไทยเรียกว่า การพิมพ์ลาย ลอกลาย หรือรูปลอก วิธีการคือ คนออกแบบลวดลายจะสร้างลายขึ้นมา จากนั้นนำลายไปสลักลงแผ่นทองแดง ก่อนการพิมพ์ลายจะต้องทำให้แผ่นทองแดงร้อน จากนั้นทาด้วยหมึกที่มีส่วนผสมของน้ำมัน เพื่อให้สีแทรกซึมเข้าไปตามลวดลาย จากนั้นเช็ดหมึกส่วนเกินออกเหลือแต่หมึกบนลวดลาย นำแผ่นกระดาษบางมาวางทับเพื่อดึงลายออกมา จากนั้นนำกระดาษที่มีลายวางทาบไปบนเครื่องปั้นดินเผาสีขาว ลูบๆ บนลาย ลวดลายก็จะปรากฏบนเครื่องปั้นดินเผา (วิธีการนี้คล้ายกับการลอกลายสติ๊กเกอร์ tattoo ที่หลายคนเคยใช้ติดบนร่างกาย) จากนั้นจะล้างเอากระดาษออก ทำการเคลือบผิวภาชนะและนำไปเข้าเตาเผาอีกครั้งเพื่อให้ลวดลายติดทน น้ำเคลือบจะทำให้ภาชนะทนทานมากขึ้น
ส่วนหมึกที่ใช้พิมพ์ แต่เดิมใช้สีน้ำเงินเป็นสี Cobalt Blue เลียนแบบสีบนเครื่องปั้นดินเผาจีนที่เรียกว่า Blue and white ต่อมาได้มีการใช้สีที่หลากหลาย เช่น สีแดงออกชมพู สีเขียว สีม่วงMulberry และสีดำ ในภาชนะหนึ่งใบอาจมีลายต่างสีได้แต่ลวดลายมักมีรูปแบบเดียวกัน และมีชื่อประจำของแต่ละลาย
ผู้ที่สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลวัตถุเพิ่มเติมในรูปแบบสามมิติได้ที่ collection360.museumsiam.org